เครือข่ายแลนไร้สาย (Wireless LAN)

by 21:32
เครือข่ายแลนไร้สาย (Wireless LAN)



          แลนไร้สาย หรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้ สาย โดยใช้คลื่นความถี่ วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)
        คำว่า ไวเลส (Wireless) คือ ไม่มีสาย ลองนึกภาพถึงแลนปกติที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลนนั่นเอง
        แลน (LAN or Local Area Network) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่ เช่นระบบแลนภายในบ้าน ในบริษัทหรือองค์กร ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
        มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตราฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร กัน เช่น
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11a มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 5 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11b มีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11g มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
       
           ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ช่องคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่เสรี ที่ทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้ จึงทำให้ในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ที่จำหน่ายเพียงสองมาตราฐานคือ IEEE 802.11b และ g เท่านั้น

เหตุใดเราจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Wireless LAN หรือเทคโนโลยีแลนไร้สาย
• สะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ Notebook/Laptop ไปมาภายในบริเวณที่มีสัญญาณของ Wireless LAN โดยที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายหลักได้อยู่
• ในบางพื้นที่ เช่น อาคารใหม่ๆ มักอาจไม่ต้องการให้มีการติดตั้งและเดินสายเคเบิลภายในตัวอาคารเพื่อความสวย งาม ดังนั้นในการสร้างระบบเครือข่าย อาจจะต้องมีการนำเทคโนโลยี Wireless LAN มาใช้งาน
• ในบางบริเวณภายในอาคาร สายเคเบิลอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถลากไปถึงจุดๆ นั้นได้
• การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระหว่างอาคาร 2 แห่ง (Building-to-Building) อาจนำเทคโนโลยี Wireless LAN มาประยุกต์ใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งสาย Fiber Optic เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่าง 2 อาคาร ในกรณีที่ระยะห่าง
ระหว่างอาคารทั้ง 2 นั้นห่างกันไม่มากนัก
• สามารถนำมาใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายแบบชั่วคราว เพื่อใช้ในการอบรม จัดงานแสดงผลงาน เช่น นิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าต่างๆ
• สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานสำหรับภายในอาคารที่พักอาศัย เช่น โรงแรมคอนโดมิเนียมหรือตามบ้านพักตากอากาศต่างๆ โดยที่พักเหล่านี้สามารถติดตั้ง Wireless LAN เพื่อไว้เป็นบริการเสริมใหกับลูกค้าที่มาพักอาศัย ซึ่ง
อาจจะมีการเก็บค่าบริการหรือค่าในการใช้งานระบบ Internet ผ่านระบบ Wireless LAN ได้ ทำให้ผู้ที่มาพักอาศัยสามารถใช้งานระบบ Internet ได้
ข้อดีของเทคโนโลยี Wireless LAN หรือแลนไร้สาย
       ผู้ใช้งาน Wireless LAN นั้นสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายขององค์กรได้ในทุกที่ ทุกเวลา ภายในพื้นที่ที่สัญญาณของระบบ Wireless LAN ครอบคลุมถึง
       การใช้งานระบบ Wireless LAN ค่อนข้างง่ายและสะดวกรวดเร็ว เพราะว่าเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใชงานได้ในลักษณะ Plug & Play โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งสายเคเบิลให้เกิดความยุ่งยากและวุ่นวาย
      เทคโนโลยี Wireless LAN นั้นสามารถส่งสัญญาณ เพื่อให้บริการในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ในบริเวณที่ยากแก่การ ติดตั้งและเดินสายเคเบิล รวมถึงบริเวณที่ไม่สามารถติดตั้งสายเคเบิลได้ด้วย
       สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นจะค่อนข้างสูงในขั้นแรก แต่ถ้านับรวมค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใช้งานทั้งระบบค่าบำรุงรักษาอายุการใช้งานของอุปกรณ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในกรณีต้องการขยายจำนวนของผู้ใช้งานในอนาคตแล้วนั้น จะถือว่า Wireless LAN เป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพงเลย
       เป็นเทคโนโลยีที่สามารถกำหนดและปรับเปลี่ยนรูปแบบในการใช้งานได้หลากหลายรูป แบบ ตามแต่ที่เราจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับ Application ของเรา
มาตรฐานการใช้งานของเทคโนโลยี Wireless LAN หรือแลนไร้สาย

       สำหรับมาตรฐานการใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นคือ มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งมาตรฐานนี้ จะสามารถส่งข้อมูลโดยใช้ความถ่ี ในลักษณะคล้ายกับการส่งสัญญาณวิทยุ โดยมีช่วงความถี่ที่ใช้ในการส่งข้อมูลทั้งหมด 3 ช่วง ดังนี้
 ช่วงความถี่นี้เป็นช่วงความถี่ในระบบแรกๆ ที่มีการเริ่มใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN โดยจะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเพียง 1-2 Mbps
 เป็นช่วงความถี่ที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน และสามารถใช้งานช่วงความถี่นี้ได้ในทุกประเทศทั่วโลก ช่วงความถี่ 2.4 GHz นี้ สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วตั้งแต่ 1 Mbps ไปจนถึง 11 Mbps แต่ก็จะครอบคลุมพื้นที่ในการรับ-ส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่น้อยกว่าระบบที่ ใช้งานช่วงความ 900 MHz นอกจากนี้ในช่วงความถี่ 2.4 GHz นี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็นมาตรฐานต่างๆ ได้อีก คือ มาตรฐาน IEEE 802.11b สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 11, 5.5, 2 และ 1 Mbps ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่าง Access Point กับ Wireless Card ซึ่งมาตรฐาน IEEE 802.11b นี้เป็นมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และอีกมาตรฐานที่มีการรับ-ส่งข้อมูลอยู่บนช่วงความถี่ 2.4 GHz ก็คือ มาตรฐาน IEEE 802.11g ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงกว่า 20 Mbps
     เป็นช่วงความถี่ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่สั้นที่สุดในทั้ง 3 ช่วงความถี่ แต่มีสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 54 Mbps แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในบางประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ยังไม่สามารถใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN บนช่วงความถี่นี้ได้ ซึ่งการรับ-ส่งข้อมูลบนช่วงความถี่นี้ จะทำงานอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11a
เทคโนโลยีที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบน เครือข่าย Wireless LAN หรือแลนไร้สาย

ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบ เครือข่ายแบบไร้สายนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

1. Frequency Hopping Spread Spectrum (FHSS): FHSS
เป็นเทคโนโลยีเก่า สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วค่อนข้างต่ำแค่ประมาณ 1 - 2 Mbps เท่านั้น FHSS จะใช้วิธีในการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็กๆ แล้วส่งข้อมูลไปในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั้น แต่ถ้าหากมีข้อมูลที่ต้องการจะส่งมากกว่า 1 ข้อมูล ก็จะทำการแบ่งการส่งข้อมูลในความถี่ที่แตกต่างกัน โดยจะใช้การสลับกันส่งข้อมูล ใช้เวลาในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งประมาณ 0.4 วินาทีในหนึ่งความถี่ ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 79 ช่วงความถี่ที่ต่างกัน

2. Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS)
      วิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้จะใช้วิธีส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีการกระโดดเหมือนกับแบบ FHSS โดยจะแบ่งช่วงความถี่ในการส่งข้อมูลเป็น 11 ช่วงความถี่ แต่ละช่วงความถี่จะใช้ค่าความถี่ประมาณ 22 MHz ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงขึ้น คือ ประมาณ 1 – 11 Mbps แต่เนื่องจากวิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้ใช้ช่วงความถี่ในการรับ-ส่งข้อมูลค่อนข้างกว้าง ทำให้จำนวนของข้อมูลที่จะสามารถส่งไปพร้อมกันได้นั้น ลดลงเหลือเพียง 3 ช่วงความถี่เท่านั้น

 ที่มา : https://sites.google.com/
ขับเคลื่อนโดย Blogger.