Featured

สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)

by 01:26

สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา สายใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก 
สายใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สายใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single-mode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM) 

ออพติคเคเบิล 1 เส้น ประกอบด้วย ใยแก้วนำแสงตั้งแต่ 2 core ขึ้นไป มี 2 ชนิด คือ แบบ multi-mode (MM) และแบบ single-mode (SM) ความแตกต่างของทั้งสองชนิดนี้ คือขนาดของตัวใยแก้วใจกลางหรือที่เรียกว่า core

Multi-mode (MM)


ออพติคเคเบิลมีสีส้ม ใยแก้วนำแสงบอกขนาด 50/125 หมายถึง ขนาด core เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ไมครอน ขนาดเปลือกหุ้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 ไมครอน เนื่องจากมีขนาด core ใหญ่ ทำให้แสงที่เดินทางกระจัดกระจาย ทำให้แสงเกิดการหักล้างกัน จึงมีการสูญเสียของแสงมาก จึงส่งข้อมูลได้ไม่ไกลเกิน 200 เมตร ความเร็วก็ไม่เกิน 100 ล้านบิทต่อวินาที ที่ความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารเท่านั้น แต่มีข้อดีก็คือ ราคาถูก เพราะ core มีขนาดใหญ่ สามารถผลิตได้ง่ายกว่า

Single-mode (SM)



ออพติคเคเบิลเป็นสีเหลือง ใยแก้วนำแสงบอกขนาด 9/125 หมายถึง ขนาด core เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 ไมครอน ขนาดเปลือกหุ้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 ไมครอน เมื่อ core มีขนาดเล็กมาก ทำให้แสงเดินทางเป็นระเบียบขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียน้อยลง ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดประมาณ 2,500 ล้านบิทต่อวินาทีต่อหนึ่งความยาวคลื่นแสงที่ 1300 นาโนเมตร ด้วยระยะทางไม่เกิน 20 กม. ระยะทางในการใช้งานจริง ได้ถึง 100 กม. แต่ความเร็วจะลดลง แต่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบิทต่อวินาที ข้อดีของ SM อีกอันหนึ่งก็คือ มันทำงานที่ความยาวคลื่นที่ 1300 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่มีการลดทอนแสงน้อยที่สุด ตามรูป




ข้อดี ขสร้างจากแก้วซึ่งเป็นฉนวน คือ สนามพลังงานที่ถูก ปล่อยออกมาจะไม่ถูกรบกวนและถูกดูดซับ แก้วเป็นวัสดุที่มีผลต่อการลดทอนน้อยมาก และเป็นอิสระจากการมอดูเลตทางความ ถี่ เมื่อเปรียบเทียบกับเคเบิลชนิดทองแดงแล้ว จะมีความสามารถในการรับส่งเหมือนกัน แต่ไฟเบอร์ออฟติกมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา กว่ามาก และสุดยอดของออฟติกก็คือมีราคาถูกแม้ว่าจะพิจารณารวมถึงต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แล้วด้วยการพัฒนาต่อไปในอนาคตจะสามารถลดต้นทุนเครือข่ายไฟเบอร์ออฟติกได้มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การติดตั้ง การบำรุงรักษา และที่แน่ๆ ก็คือการใช้งานเครือข่าย การส่งข้อมูลไปบนไฟเบอร์ออฟติก คุณจะต้องมีอุปกรณ์กำเนิดแสงที่ถูกมอดูเลต โดยทั่วไปแล้วจะใช้เลเซอร์ไดโอดที่ทำหน้าที่ปล่อยพัลส์แสง (light pulse) เข้าไปยังไฟเบอร์ และที่ด้านตรงปลายทาง คุณก็ต้องมีอุปกรณ์ตรวนจับแสง (photo detector) ซึ่งมักจะเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่ทำงานคล้ายกับโซลาร์เซลด้วยการแปลงแสง ไปเป็นกระแสไฟฟ้าปัจจุบันไฟเบอร์ออฟติกทำงานกับแสงที่มีความยาวคลื่น ประมาณ 1µm ซึ่งตรงกับความถี่ 3·1014 Hz หรือ 300.000 GHz สำหรับเหตุผลทางเทคนิค อุปกรณ์ส่วนใหญ่ทำงานกับการการผสมของสัญญาณที่อาศัยความแรงของสัญญาณ (AM) ซึ่งจะส่งผลให้มีแบนด์วิดธ์เป็น 5 ถึง 10 GHz เมื่อเปรียบเทียบกับความถี่พาหะ (carrier frequency) แล้ว จะเห็นว่าน้อยมาก มันจะถูกจำกัดโดยเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ การลดทอนของแสงใน glass fiber ขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น มีค่าลดทอนต่ำสุดใน attenuation curve อยู่ในช่วง 1310 nm และ 1550 nm ระยะความกว้าง 100 nm โดย ประมาณบริเวณค่าดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า วินโดวส์ ซึ่งความถี่บริเวณในวินโดวส์นี้จะใช้สำกรับการส่งข้อมูล ไฟเบอร์ในปัจจุบันนี้ครวบคลุมหลายวินโดวส์ (1300/1400/1500/1600mm)คุณ สามารถป้อนสัญญาณที่ความยาวคลื่นต่างกันในวินโดวเดียวกันเข้าไปในหนึ่งไฟ เบอร์ และที่ด้านปลายทางสัญญาณแสงจะถูกแยกออกได้ รูปแบบดังกล่าวนี้จะเป็นหลายช่องสัญญาณต่อวินโดว์โดยใช้ไฟเบอร์อันเดียวซึ่ง เรียกกันว่า wavelength-division multiplexing (WDM)

เครือข่ายแลนไร้สาย (Wireless LAN)

by 21:32
เครือข่ายแลนไร้สาย (Wireless LAN)



          แลนไร้สาย หรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้ สาย โดยใช้คลื่นความถี่ วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)
        คำว่า ไวเลส (Wireless) คือ ไม่มีสาย ลองนึกภาพถึงแลนปกติที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลนนั่นเอง
        แลน (LAN or Local Area Network) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่ เช่นระบบแลนภายในบ้าน ในบริษัทหรือองค์กร ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
        มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตราฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร กัน เช่น
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11a มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 5 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11b มีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11g มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
       
           ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ช่องคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่เสรี ที่ทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้ จึงทำให้ในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ที่จำหน่ายเพียงสองมาตราฐานคือ IEEE 802.11b และ g เท่านั้น

เหตุใดเราจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Wireless LAN หรือเทคโนโลยีแลนไร้สาย
• สะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ Notebook/Laptop ไปมาภายในบริเวณที่มีสัญญาณของ Wireless LAN โดยที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายหลักได้อยู่
• ในบางพื้นที่ เช่น อาคารใหม่ๆ มักอาจไม่ต้องการให้มีการติดตั้งและเดินสายเคเบิลภายในตัวอาคารเพื่อความสวย งาม ดังนั้นในการสร้างระบบเครือข่าย อาจจะต้องมีการนำเทคโนโลยี Wireless LAN มาใช้งาน
• ในบางบริเวณภายในอาคาร สายเคเบิลอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถลากไปถึงจุดๆ นั้นได้
• การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระหว่างอาคาร 2 แห่ง (Building-to-Building) อาจนำเทคโนโลยี Wireless LAN มาประยุกต์ใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งสาย Fiber Optic เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่าง 2 อาคาร ในกรณีที่ระยะห่าง
ระหว่างอาคารทั้ง 2 นั้นห่างกันไม่มากนัก
• สามารถนำมาใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายแบบชั่วคราว เพื่อใช้ในการอบรม จัดงานแสดงผลงาน เช่น นิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าต่างๆ
• สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานสำหรับภายในอาคารที่พักอาศัย เช่น โรงแรมคอนโดมิเนียมหรือตามบ้านพักตากอากาศต่างๆ โดยที่พักเหล่านี้สามารถติดตั้ง Wireless LAN เพื่อไว้เป็นบริการเสริมใหกับลูกค้าที่มาพักอาศัย ซึ่ง
อาจจะมีการเก็บค่าบริการหรือค่าในการใช้งานระบบ Internet ผ่านระบบ Wireless LAN ได้ ทำให้ผู้ที่มาพักอาศัยสามารถใช้งานระบบ Internet ได้
ข้อดีของเทคโนโลยี Wireless LAN หรือแลนไร้สาย
       ผู้ใช้งาน Wireless LAN นั้นสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายขององค์กรได้ในทุกที่ ทุกเวลา ภายในพื้นที่ที่สัญญาณของระบบ Wireless LAN ครอบคลุมถึง
       การใช้งานระบบ Wireless LAN ค่อนข้างง่ายและสะดวกรวดเร็ว เพราะว่าเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใชงานได้ในลักษณะ Plug & Play โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งสายเคเบิลให้เกิดความยุ่งยากและวุ่นวาย
      เทคโนโลยี Wireless LAN นั้นสามารถส่งสัญญาณ เพื่อให้บริการในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ในบริเวณที่ยากแก่การ ติดตั้งและเดินสายเคเบิล รวมถึงบริเวณที่ไม่สามารถติดตั้งสายเคเบิลได้ด้วย
       สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นจะค่อนข้างสูงในขั้นแรก แต่ถ้านับรวมค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใช้งานทั้งระบบค่าบำรุงรักษาอายุการใช้งานของอุปกรณ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในกรณีต้องการขยายจำนวนของผู้ใช้งานในอนาคตแล้วนั้น จะถือว่า Wireless LAN เป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพงเลย
       เป็นเทคโนโลยีที่สามารถกำหนดและปรับเปลี่ยนรูปแบบในการใช้งานได้หลากหลายรูป แบบ ตามแต่ที่เราจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับ Application ของเรา
มาตรฐานการใช้งานของเทคโนโลยี Wireless LAN หรือแลนไร้สาย

       สำหรับมาตรฐานการใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นคือ มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งมาตรฐานนี้ จะสามารถส่งข้อมูลโดยใช้ความถ่ี ในลักษณะคล้ายกับการส่งสัญญาณวิทยุ โดยมีช่วงความถี่ที่ใช้ในการส่งข้อมูลทั้งหมด 3 ช่วง ดังนี้
 ช่วงความถี่นี้เป็นช่วงความถี่ในระบบแรกๆ ที่มีการเริ่มใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN โดยจะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเพียง 1-2 Mbps
 เป็นช่วงความถี่ที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน และสามารถใช้งานช่วงความถี่นี้ได้ในทุกประเทศทั่วโลก ช่วงความถี่ 2.4 GHz นี้ สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วตั้งแต่ 1 Mbps ไปจนถึง 11 Mbps แต่ก็จะครอบคลุมพื้นที่ในการรับ-ส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่น้อยกว่าระบบที่ ใช้งานช่วงความ 900 MHz นอกจากนี้ในช่วงความถี่ 2.4 GHz นี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็นมาตรฐานต่างๆ ได้อีก คือ มาตรฐาน IEEE 802.11b สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 11, 5.5, 2 และ 1 Mbps ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่าง Access Point กับ Wireless Card ซึ่งมาตรฐาน IEEE 802.11b นี้เป็นมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และอีกมาตรฐานที่มีการรับ-ส่งข้อมูลอยู่บนช่วงความถี่ 2.4 GHz ก็คือ มาตรฐาน IEEE 802.11g ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงกว่า 20 Mbps
     เป็นช่วงความถี่ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่สั้นที่สุดในทั้ง 3 ช่วงความถี่ แต่มีสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 54 Mbps แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในบางประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ยังไม่สามารถใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN บนช่วงความถี่นี้ได้ ซึ่งการรับ-ส่งข้อมูลบนช่วงความถี่นี้ จะทำงานอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11a
เทคโนโลยีที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบน เครือข่าย Wireless LAN หรือแลนไร้สาย

ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบ เครือข่ายแบบไร้สายนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

1. Frequency Hopping Spread Spectrum (FHSS): FHSS
เป็นเทคโนโลยีเก่า สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วค่อนข้างต่ำแค่ประมาณ 1 - 2 Mbps เท่านั้น FHSS จะใช้วิธีในการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็กๆ แล้วส่งข้อมูลไปในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั้น แต่ถ้าหากมีข้อมูลที่ต้องการจะส่งมากกว่า 1 ข้อมูล ก็จะทำการแบ่งการส่งข้อมูลในความถี่ที่แตกต่างกัน โดยจะใช้การสลับกันส่งข้อมูล ใช้เวลาในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งประมาณ 0.4 วินาทีในหนึ่งความถี่ ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 79 ช่วงความถี่ที่ต่างกัน

2. Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS)
      วิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้จะใช้วิธีส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีการกระโดดเหมือนกับแบบ FHSS โดยจะแบ่งช่วงความถี่ในการส่งข้อมูลเป็น 11 ช่วงความถี่ แต่ละช่วงความถี่จะใช้ค่าความถี่ประมาณ 22 MHz ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงขึ้น คือ ประมาณ 1 – 11 Mbps แต่เนื่องจากวิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้ใช้ช่วงความถี่ในการรับ-ส่งข้อมูลค่อนข้างกว้าง ทำให้จำนวนของข้อมูลที่จะสามารถส่งไปพร้อมกันได้นั้น ลดลงเหลือเพียง 3 ช่วงความถี่เท่านั้น

 ที่มา : https://sites.google.com/

อุปกรณ์เครือข่าย (T1/4 วิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์)

by 19:54
อุปกรณ์เครือข่าย


การ์ด LAN
การ์ด (lan)
เครื่องพีซีจะเชื่อต่อกันเป็นระบบ LAN ขึ้นมานั้น แต่ละเครื่องต้องติดตั้งการ์ด LAN เครื่องรุ่นใหม่ๆอาจจะมีการ์ด LAN ฝังตัวอยู่ในบอร์ดให้แล้ว (Lan Onboard) หรือในโน๊ตบุ๊คใหม่ๆก็มักจะมีพอร์ต LAN มาให้แล้ว โดยส่วนใหญ่จะมีความเร็ว 1000หรือ100 เมกกะบิต (ถ้าเป็นรุ่นเก่าจะมีความเร็วเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น) เรียกว่าเป็น Fast Ethernet และบางแบบก็อาจใช้ได้ทั้ง 2 ความเร็วโดยสามารถปรับแบบอัตโนมัติแล้วแต่จะไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Hub หรือ Switch แบบใดการ์ด LAN รุ่นใหม่จะมีคุณสมบัติ Plug&Play หรือ PnP มักเสียบเข้ากับสล๊อตแบบ PCI (การ์ดรุ่นเก่าจะใช้กับสล๊อตแบบ ISA ซึ่งไม่ค่อยพบแล้ว จึงไม่ขอกล่าวถึง) โดยมีช่องด้านหลังเครื่องให้เสียบสายได้



ฮับ(hub)
ฮับ(hub) เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานี เข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้น ทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส(address)ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต 


สวิตซ์(switch)

สวิตซ์(switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี (อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่ามา แอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย


เราเตอร์ (router)

เราเตอร์ (router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น รวมทั้งการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูล โดยกำหนด



สาย UTP (Unshield Twisted Pair)
สาย UTP (Unshield Twisted Pair) สายที่ใช้กับ LAN เรียกว่าสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งใช้หัวต่อแบบ RJ-45 ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขา สายแบบนี้ที่เข้าหัวไว้แล้วจะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือจะซื้อแบบเป็นม้วนมาตัดเข้าหัวเองก็ได้ แต่ต้องมีเครื่องมือหรือคีมเข้าหัว RJ-45 โดยเฉพาะ มีข้อจำกัดคือ จะต้องยาวไม่เกิน 100 เมตร จากเครื่องไปยัง Switch และแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ
สายตรง (Straight-through Cable) คือสายปกติที่ใช้เชื่อมระหว่างการ์ด LAN และ Hub / Switch 
สายไขว้ (Crossover Cable) ใช้ต่อการ์ด LAN บนคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือพอร์ตของ Hub หรือ Switch 2 ตัวโดยตรง เพื่อเพิ่มขยายพอร์ต ซึ่งวิธีการเข้าหัวจะต่างจากปกติ

ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/


ขับเคลื่อนโดย Blogger.